วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประชาสัมพันธ์โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา

วิสัยทัศน์..โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยความร่วมมือของบุคลากร มืออาชีพกับชุมชน
พันธกิจ..1. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
          2. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นคุณธรรม ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
          3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาด้วยวิธีการที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง
          4. ประสานขอความร่วมมือกับองค์กรทุกภาคส่วนที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ปรัชญา.. “ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต    ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก” 
คติพจน์..  ตั้งใจศึกษา  พัฒนาสังคม อบรมตนดี  วิถีบัณฑิต
                  ประวัติโรงเรียนและก่อตั้งโรงเรีย
                                .      สถานที่ตั้ง
                                โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา  ตั้งอยู่เลขที่  ๖๗๔  ถนนบุษบา วัดท่าหลวง  (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดพิจิตร  ๖๖๐๐๐ ซึ่งอยู่ในบริเวณของวัดท่าหลวง  ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา  ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร  ได้เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  เริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่  วันที่ ๑๖  พฤษภาคม  พุทธศักราช ๒๕๔๓  ใบอนุญาตเลขที่ ๒๕/๒๕๔๓  ลง ณ  วันที่  ๑๖  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๔๓  ลงลายมือชื่อ  นายไพบูลย์  เสียงก้อง  อธิบดีกรมการศาสนา
                                .     ความเป็นมา
                                โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา  นั้นเดิมเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมพระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ เปิดการเรียนการสอนแผนกธรรม  บาลี แก่พระภิกษุสามเณร  จนกระทั่งปี พุทธศักราช  ๒๕๔๓  พระเดชพระคุณพระสุทัสสีมุนีวงศ์ (นามเดิม)  เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง  ได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์ขึ้นมาโดยเฉพาะ จึงได้จัดประชุมคณะสงฆ์และกรรมการของวัดในเรื่องนี้  และได้แนวสรุปว่าจะดำเนินการ  เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาซึ่งเป็นการเรียนทั้งทางธรรมและทางโลกควบคู่กันไป  ซึ่งเป็นการเรียนการสอนสำหรับพระภิกษุสามเณร  โดยจัดการเรียนการสอนเป็น    ระดับคือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. 1-3)  และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  (ม. 4-6)
                                ดั้งนั้น จึงได้จัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซมอาคารโรงเรียนและบริเวณอาคารสถานที่เป็นเงินทั้งสิ้น ๘๕๐,๐๐๐ (แปดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน และได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยาและยังจัดสรรเงินเพื่อใช้ในโรงเรียนประมาณสองล้านบาทถ้วน  เพื่อการบริหารเงินเดือนจัดซื้อเครื่องวัสดุครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการศึกษา
     ซึ่งได้รับการอนุญาตและอนุมัติให้เป็นโรงเรียนในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๔๓  ได้ชื่อเป็นทางการว่า “ โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา” 
       ผู้บริหารโรงเรียนปัจจุบัน
.  พระราชวิจิตรโมลี    (บุญมี ปริปุณโณ)           เป็นประธานที่ปรึกษา
.  พระครูศรีปริยัติวิสิฐ  ( พระมหาสุพิน  ธมฺมวิริโย)    ผู้จัดการ
.  พระเมธีธรรมประนาท (พระมหาปรีชา ปฏิภาณเมธี)  ผู้อำนวยการ
พระครวชิรพุทธานุกูล  (พระมหาวิรัช  วิโรจโน)   รองผู้อำนวยการ    
     โดยแยกกลุ่มบริหารดังต่อไปนี้
พระปลัดณรงค์ธรรม  กตธมฺโม    หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ
พระสมุห์สมนึก       ฐิตสาสโน    หัวหน้ากลุ่มบริหารทั่วไป
พระมหาชิตพล       อตฺตคุตฺโต   หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล
บุคลากรบรรพชิต  10  รูป และคฤหัสถ์..5 คน    จำนวนนักเรียน.. 149  รูป
ได้เปิดการเรียนการสอนแบบ 2 แผนก
แผนกทางโลก เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  สุขศึกษาและพลศึกษา   ศิลปะ  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  และภาษาอังกฤษ
แผนกทางธรรม ได้แก่ หลักสูตรปริยัติธรรม คือ เรียนนักธรรมตรี-โท-เอก , เรียนภาษาบาลี ประโยค 1-2  เปรียญธรรม 3 ประโยค และเปรียญธรรม 4 ประโยค เป็นต้น    ทุกกลุ่มสาระได้บูรณาการศึกษาเข้ากับหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร
รูปแบบการเรียนการสอน...ม.ต้นและม.ปลาย
ภาคเช้า เรียนวิชาภาษาบาลี   เวลา 08.30 – 10.50 น.
ภาคเที่ยง เรียนวิชาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  8 กลุ่มสาระ   เวลา  12.00 – 17.00 น. 
ภาคค่ำ ท่องแบบไวยากรณ์ภาษาบาลีหรือแปลภาษาบาลีมคธเป็นไทย เวลา  18.30 – 21.00 น.
รูปแบบการเรียนแบบไตรสิกขา (ศีล ดี ,สมาธิ สุข  ,ปัญญา เก่ง ) 
 1 . ด้านศีล (ดี) จัดการศึกษาดังนี้   1. จัดระเบียบแถวก่อนเรียน สวดมนต์ทุกเช้า 2. กิจกรรมสร้างความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง   3.ปลูกจิตสำนึกการพัฒนาสังคม ความกตัญญูกตเวที อันเป็นวิถีบัณฑิตที่ตนตั้งเป้าหมายไว้
2.  ด้านสมาธิ (สุข) จัดการศึกษาดังนี้  1. จัดให้มีทำวัตร สวดมนต์  ทุกเย็นที่พระอุโบสถหรือที่หอฉัน  2. เจริญสมาธิ  3.  สามเณรนักเรียนทุกรูปปฏิบัติธรรมประจำปีนอกสถานที่  3 วัน
3. ด้านปัญญา (เก่ง) คือ ฟัง  คิด  ฝึกประสบการณ์ จัดการศึกษาดังนี้  
การฟัง ได้แก่ ฟังบรรยายจากการเรียนการสอนทั้งจากครูประจำ  ครูพิเศษ  และวิทยากร  
การคิด ได้แก่   1. จัดห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับค้นคว้าหาข้อมูลได้  2. จัดนิทรรศการตามแต่ละห้องตามกลุ่มสาระ ให้นักเรียนได้ศึกษาตามแต่สนใจ    3. นำนักเรียนศึกษาแหล่งการเรียนรู้ ยาสมุนไพรของโรงเรียน
ฝึกประสบการณ์ ได้แก่   1. นักเรียนทุกรูปไปทัศนศึกษานอกสถานที่ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง   เป็นอย่างน้อย  
2. นักเรียนทุกรูปปฏิบัติธรรมประจำปี   ตามสถานที่ต่างๆ 
 กิจกรรมการจักการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  8 กลุ่มสาระ   
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย    
จะทำให้ผู้เรียนได้รู้ทักษะจาการฟัง พูด อ่าน เขียน ได้อย่างคล่องแคล่วและสร้างสรรค์
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  
         จะทำให้ผู้เรียนอย่างมีความสุข  ด้วยกระบวนการแบบประยุกต์ ทำให้นักเรียนเรียนรู้การคิดได้เป็นอย่างดี
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  ศาสตร์แห่งเหตุและผล จะทำให้ผู้เรียนเข้าจะใจธรรมชาติมากขึ้นและรักพระพุทธศาสนามากขึ้น เพระหลักวิทยาศาสตร์ เป็นหลักที่สอดคล้องกับหลักเหตุและผลของคำสอนในทางพระพุทธศาสนา 
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
   ประกอบด้วย วิชาสังคมศึกษา  วิชาพระพุทธศาสนา  วิชาประวัติศาสตร์    จะทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์อันน่าประทับใจ ด้วยการเรียนการสอนทั้งในและนอกสถานที่  เมื่อการศึกษาผู้เรียนจะได้รู้จักดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และเป็นผู้นำในสังคม
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  
     ผู้เรียนได้เรียนเกี่ยวกับรักษาสุขภาพด้วยวิธีต่างๆ  การออกกำลังกายตามสมณสารูปแบบวีถีพุทธ  จะทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี เหมาะแก่ความเป็นสมณะ
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
   เป็นวิชาแห่งจินตนาการ  ผู้เรียนจะได้เรียนทักษะแห่งการวาดรูป  งานด้านพุทธศิลป์ต่างๆ   เพื่พัฒนาจิตของผู้เรียนให้เป็นผู้มีสมาธิและสามารถผลิตผลงานด้านพุทธศิลป์ได้อย่างวิจิตร
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
ประกอบด้วย วิชางานฝีมือ  งานประดิษฐ์   งานช่าง    งานคอมพิวเตอร์  และงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ผู้เรียนจะได้ฝึกทางด้านฝีมือการงานอาชีพและเทคโนโลยี   ทำหน้าที่เป็นศาสนทายาทอย่างเต็มที่  พร้อมที่ศึกษาต่อและดำเนินชีวิต ได้อย่างเต็มภาคภูมิในสังคม
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ
    วิชาภาษาอังกฤษ วิชาสู่ความรู้สู่สากล  ผู้เรียนจะได้เรียนภาษาอังกฤษครบทั้ง 4 ทักษะ ฟัง พูด  อ่าน และเขียน
            วิชาภาษาบาลี  (ภาษาพุทธพจน์) ผู้เรียนจะได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ผ่านทางภาษาบาลี
-                      จุดเน้นของโรงเรียน  (เป้าประสงค์ของโรงเรียน)  
1.       ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้อย่างมีความสุข    มีคุณธรรม   มีคุณภาพตามหลักสูตร    ตามมาตรฐานการศึกษา
2.       ครู มีความรู้ความสามารถ  มีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนการสอน อย่างมีประสิทธิภาพ
3.       ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
4.       โรงเรียนได้รับการสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มขึ้น
-                   เรามีความมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาสถานศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้   โดยจัดห้องสมุด เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม   ห้องคอมพิวเตอร์   ห้องวิทยาศาสตร์   ห้องพยาบาล    สวนสมุนไพรโรงเรียน   และแหล่งการเรียนรู้ของทางวัดหรือนอกสถานศึกษา คือ องค์หลวงพ่อเพชร   ศิลปะปูนปั้นรามเกียรติ์รอบศาลาบริหารคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร    ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดพิจิตร   และบึงสีไฟ
-                    นอกจากกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนแล้ว   นักเรียนทุกรูปจะได้รับไปทัศนศึกษาฟรีตามที่โรงเรียนจัดให้   บริการห้องสมุด  ถวายสมุด ปากกา   หนังสือยืมเรียน   กระเป๋าหนังสือ   ผ้าไตรจีวร  ที่นอน  ภัตราหารเพลและน้ำปาณะทุกเย็น  ฟรีตลอดการศึกษา  แล้วได้รับการดูแล ตรวจสุขภาพ โดยสาธารณสุข โรงพยาบาลพิจิตร   , ได้รับการบรรพชาสามเณรร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรและคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร  โดยได้ผ้าไตรพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  ,  มีทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เรียนดีและประพฤติดี  , มีทุนการศึกษาของมุลนิธิพระฑีฆทัสสีมุนีวงศ์  วัดท่าหลวงพระอารามหลวง   สำหรับนักเรียนที่สอบผ่านภาษาบาลี     ,  ม. 3 และ ม. 6   มีโคตาสถานศึกษา ที่มีชื่อเสียงศึกษาต่อ  
-                   แนวทางการศึกษาต่อ    จบม. 3 หรือ ม. 6   มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทุกประการ รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ      จบ ม. 6 มีโคตาต่อมหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
-                   ด้วยการพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง   จึงทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลเกียรติยศต่างๆ มากมาย

CONCLUSIONโรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา พร้อมแล้วที่จะพัฒนาศาสนทายาทในพระพุทธศาสนา  ให้เป็นผู้มีความขยัน อดทน  เพราะเป็นหลักธรรมพื้นฐาน ของความสำเร็จทุกประการ  สมดั่ง ปรัชญาสถานศึกษาที่ว่า 
                                  “ปญฺญา โลกสฺมิ  ปชฺโชโต     ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก”   (พูดจบ)
  เสียงดนตรี  ภาพ ตัวหนังสือ   (ผู้สนับสนุนการศึกษา)   โรงเรียนหลวงพ่อเพชรวิทยา  ,สำนักงานพระพุทธศาสนา   ,  วัดท่าหลวง พระอารามหลวง  จังหวัดพิจิตร ,  กระทรวงวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร ,องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร , ข้าราชการภายในจังหวัดพิจิตร ,